เมนู

ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ฯลฯ ปัญญา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. อาเสวนปัจจัย


[1603] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอํานาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.
[1604] 2. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ อนุโลมที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[1605] 3. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อาเสวนปัจจัย.

[1606] 4. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมณณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ อนุโลมที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[1607] 5. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อาเสวนปัจจัย.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.

11. กัมมปัจจัย


[1608] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย.
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่